วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตำรามวยไทย

ตำรามวยไทยโบราณ



ตำรามวยไทยโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๙๔ ยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งบรรยายหลักเบื้องต้นของแม่ไม้มวยไทย คือ ทุ่ม - ทับ -จับ-หัก (หอสมดแห่งชาติ หมวดตำราภาพ เลขที่ ๑๐/ก มัดที่ ๓ ตู้ที่ ๑๑๗)


มวยไทย ท่าทุ่ม
มวยไทย ท่าทุ่ม

มวยไทย ท่าทับ
มวยไทย ท่าทับ
มวยไทย ท่าจับ
มวยไทย ท่าจับ

มวยไทย ท่าหัก
มวยไทย ท่าหัก


ตำรามวยไทยเล่มแรก ตำรามวยไทยเล่มแรกสร้างโดย ๓พี่น้อง ครูมวย ได้แก่ นายชุบ นายชิต และนายสุวรรณ คนน้องแห่งสกุลนิราสะวัต มี ๑๐๓หน้า ราคาเล่มละ ๑ บาท ๒๕ สตางค์ พิมพ์ครั้งแรก ๑๕๐๐ฉบับ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขนพรหม พระนคร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑

สารบัญประกอบด้วยเรื่อง วิธีคุมหลัก – วิธีก้าวเท้ารุกประชิด- ระยะต่อยและเตะ-กติกาสังเขป-การฝึกหัดเพี่อขึ้นเวที-การให้น้ำหนักมวย - แม่ไม้ชกและปิดเชิงมือทั้งหมด-การก้าวฟันปลา-ท่าคละสืบเท้าชกและถอดเท้ารับ-วิธีกระโดดชกและหลบ-การแยกขาชกประจบ-หลักแม่ไม้เชิงเท้า- หลักแม่ไม้ถีบและจับ-หลักแม่ไม้หลบเตะ-ท่าเทพพนม-ขึ้นไม้พรหม เป็นที่น่าสังเกตเนื้อหาสาระและภาพลีลาการชกต่อย

ส่วนใหญ่จะเป็นคำบรรยาย ภาพประกอบมีค่อนข้างน้อย เป็นภาพขาวดำที่จัดในสตูดิโอ ไม่บอกชื่อท่าของแม่ไม้ บอกแต่ท่าคละอันหมายถึง ลีลา หมัด ศอก เตะ และเข่า คละกันไปแต่กลับโฆษณา เล่ม ๒ ที่จะจัดพิมพ์ในโอกาสหน้าพรรณนาจะมีรูปประกอบท่าครูเด็ด ๆ ได้แก่ ท่าลูกไม้มวย เช่น หนูไต่ราว-หนุมานถวายแหวน-ฤๅษีมุดสระ-ลิงชิงลูกไม้และอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาวุธดับวิญญาน


การออกอาวุธในมวยไทย

เตะ

ออกอาวุธมวยไทย
การออกอาวุธมวยไทย
คืออาวุธยาวและหนักหน่วงที่สุด มีหลายวิธี เช่น เตะต่ำ เตะสูง เตะตรง เตะตัด กลับตัวหมุนเตะ และถีบ มีถีบจิกด้วยปลายเท้า และสบัดเอียงตัวถีบด้วยส้นเท้า

เข่า
คืออาวุธมวยไทย ที่ใช้ได้ทั้งยาวและสั้น ยาวได้แก่โยนเข่า สั้นได้แก่โน้มคอคู่ต่อสู้ลงมาตีเข่า

ศอก
คืออาวุธสั้น ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง มีอยู่ ๕วิธี คือ
ศอกตี คือ กดปลายศอกลงโดยแรง
ศอกตัด คือ เหวี่ยงศอกขนานกับพื้น
ศอกงัด คือ การงัดปลายศอกขึ้น
ศอกพุ่ง คือ การพุ่งศอกออกไปยังศัตรู
ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับตีศอก

หมัด
การใช้หมัดแบบมวยไทยนอกจากจะมีหมัดชกตรง หมัดตวัด และหมัดเสยแล้ว ยังมีหมัดเหวี่ยงแบบขว้างหรือโขก

ลีลาของมวยไทย

ลีลาของมวยไทย
ลีลาของมวยไทย
ลีลาของมวยไทย
ศิลปะมวยไทยไม่เหมือนชาติใดในโลก เป็นปฐมภูมิความคิดของคนไทยที่สืบทอดกันมา เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติโดยเฉพาะ สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเป็นอาวุธ เช่น การออกอาวุธยาว หมายถึงการใช้เท้าเตะ รองลงมาคือการออกอาวุธเข่า และศอก การออกที่ใช้อวัยวะหมัด ศอก เท้า เข่า และศีรษะได้อย่างครบเครื่องแล้ว นอกเหนือจากนั้นแล้วเมื่อเข้าประชิดตัวต้องสามารถกอดรัด ปล้ำ จับ หัก ตี โขก ทุ่ม คู่ต่อสู้ทั้งรุกและรับอย่างเชี่ยวชาญ

การฝึกหัดมวยไทย จะต้องอาศัยความมานะพยายาม ต้องอดทนต่อความเจ็บปวด การฝึกต้องใช้เวลานาน เริ่มตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 9-10 ปี ต้องเรียนรู้จริยธรรม และคุณธรรม บังคับอารมณ์ไม่ให้โกรธง่าย อันเป็นช่องทางให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ เพราะขาดสติยับยั้งพิจารณาที่ถูกต้อง ขาดความสุขุมรอบคอบ ไม่สามารถใช้ความคิดให้เกิดไหวพริบได้

ลักษณะลีลาของมวยไทย มี 2 ลักษณะ

มวยหลัก หรือ มวยแข็ง หมายถึง มีวิธีการต่อสู้อย่างรัดกุม สุขุมรอบคอบ ทั้งท่าคุมมวยและจดมวยอย่างมั่นคง การเคลื่อนตัวก้าวอย่างเต็มไปด้วยความระมัดระวัง ดูคล้ายจะเชื่องช้าไม่คึกคะนอง ลักษณะประเภทนี้จะถูกฝึกสอนให้ตั้งรับและรอจังหวะ สุขุมเยือกเย็น มีลำหักลำโค่นดี ใช้ศิลปะมวยไทยได้หนักหน่วง รุนแรง และแม่นยำ เหมาะกับคนที่มีรูปร่างใหญ่และใจเย็นฝึกฝนมวยหลัก

มวยเกี้ยว หรือ มวยอ่อน หมายถึงมีวิธีการต่อสู้ที่ใช้ชั้นเชิงแพรวพราว การเข้าทำคู่ต่อสู้ จะไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนตัวไปมา ทั้งซ้ายและขวาสลับกัน ทำให้คู่ต่อสู้จับทางมวยยาก มวยเกี้ยวจะมีลีลา ท่าทางแคล่วคล่องว่องไว หลอกล่อ หลบหลีกได้ดี มีสายตาดี การฝึกถึงขั้นต้องเยื้องย่างในน้ำ ตีให้น้ำกระเซ็น ห้ามหลับตา แรงต้านของน้ำจะช่วยให้เมื่ออยู่บนบกจะสามารถรุกรับ ออกอาวุธได้อย่างรวดเร็วทั้งเท้า เข่า ศอก และหมัด เหมาะสำหรับคนที่มีรูปร่างเล็ก ผอมเพรียวฝึกฝนมวยเกี้ยว

ทั้งมวยหลักและมวยเกี้ยวต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือมวยหลักจะมีความรุนแรงในการใช้เท้า เข่า ศอก ส่วนมวยเกี้ยวจะใช้ เท้า เข่า หมัด ศอก ได้รวดเร็วฉับพลันกว่า แม้จะไม่รุนแรงเท่ามวยหลักก็ตาม

มวยหลักและมวยเกี้ยวขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละคน สำหรับผู้ที่รูปร่างสันทัดไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไปก็สามารถฝึกฝนในลักษณะผสมผสานระหว่างมวยหลักและมวยเกี้ยวคู่กันไป คือมีทั้งความคล่องแคล่วว่องไวและรุนแรงในการใช้เท้า เข่า หมัด ศอก

การฝึกฝนที่ดี ควรจะเป็นทั้งมวยหลักและมวยเกี้ยว คือตีทั้งวงนอกและวงใน ถนัดทั้งรุกและรับ ดังนั้นการฝึกแม่ไม้มวยไทยควรฝึกหลายรูปแบบ จะใช้เวลายาวนาน ทรหดอดทน ฝึกหัดตลอดปีติดต่อกัน เป็นขั้นเป็นตอน มีระบบ และเป็นระเบียบแบบแผนอย่างจริงจัง

มวยไชยา

มวยไชยา (มวยไทยภาคใต้)
มวยไชยา
มวยไชยา
มวยไชยา เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปในอนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคเริ่มต้น กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมาอดีตนายทหารจากพระนครสมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา ยุคเฟื่องฟูในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง เป็นหมื่นมวยมีชื่อ ตำแหน่งกรรมการพิเศษ เมืองไชยา ถือศักดินา 300 ยุคเปลี่ยนแปลงในช่วงรัชสมัยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง

มวยไทยไชยาจึงสิ้นสุดลงด้วยยุคอนุรักษ์หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย นายทองหล่อ ยา และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดา สดประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น

นักมวยที่มีชื่อเป็นที่รู้จักได้แก่ หมื่นมวยมีชื่อ นายปล่อง จำนงทอง ผู้มีท่าเสือลากหางเป็นอาวุธสำคัญการต่อสู้เน้นวงในใช้ความคมของศอก เข่า ประวัติมวยไชยาสืบค้นได้ถึง พระยาจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถ่ายทอดมายังบุตรชายคือ ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ซึ่งภายหลังย้ายมาตั้งรกรากที่กรุงเทพ ฯ เผยแพร่มวยไชยาแก่ศิษย์มากมายจนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2521

เอกลักษณ์ของมวยไชยา

เอกลักษณ์ของมวยไชยา พบว่ามีอยู่ 7 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวยไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา 7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด (จัตุชัย จำปาหอม, 2550)

มวยไทย จระเข้ฟาดหาง

มวยไทย จระเข้ฟาดหาง
จระเข้ฟาดหาง
จระเข้ฟาดหาง
เตะเหวี่ยงหลัง ถ้าจดขวา ใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก ดดยยกเท้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย บิดส้นเท้าไปทางซ้าย ขาขวา เหยียดตรงหักข้อเท้ามาทางหลังเท้าหมุนตัวมาข้างหลังโดยแรง ที่หมายส้นเท้าขวาจะกระทบขากรรไกรขวาของคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้จับเท้าได้ ให้ยันตัวด้วยเท้าซ้ายพุ่งศอกขวาเฉียงไปข้างตัว หมายคางคู่ต่อสู้ใช้กระทำเวลาตั้งรับ หรือคู่ต่อสู้เผลอตัว