วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตำรามวยไทย

ตำรามวยไทยโบราณ



ตำรามวยไทยโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ระหว่างพุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๙๔ ยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งบรรยายหลักเบื้องต้นของแม่ไม้มวยไทย คือ ทุ่ม - ทับ -จับ-หัก (หอสมดแห่งชาติ หมวดตำราภาพ เลขที่ ๑๐/ก มัดที่ ๓ ตู้ที่ ๑๑๗)


มวยไทย ท่าทุ่ม
มวยไทย ท่าทุ่ม

มวยไทย ท่าทับ
มวยไทย ท่าทับ
มวยไทย ท่าจับ
มวยไทย ท่าจับ

มวยไทย ท่าหัก
มวยไทย ท่าหัก


ตำรามวยไทยเล่มแรก ตำรามวยไทยเล่มแรกสร้างโดย ๓พี่น้อง ครูมวย ได้แก่ นายชุบ นายชิต และนายสุวรรณ คนน้องแห่งสกุลนิราสะวัต มี ๑๐๓หน้า ราคาเล่มละ ๑ บาท ๒๕ สตางค์ พิมพ์ครั้งแรก ๑๕๐๐ฉบับ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขนพรหม พระนคร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑

สารบัญประกอบด้วยเรื่อง วิธีคุมหลัก – วิธีก้าวเท้ารุกประชิด- ระยะต่อยและเตะ-กติกาสังเขป-การฝึกหัดเพี่อขึ้นเวที-การให้น้ำหนักมวย - แม่ไม้ชกและปิดเชิงมือทั้งหมด-การก้าวฟันปลา-ท่าคละสืบเท้าชกและถอดเท้ารับ-วิธีกระโดดชกและหลบ-การแยกขาชกประจบ-หลักแม่ไม้เชิงเท้า- หลักแม่ไม้ถีบและจับ-หลักแม่ไม้หลบเตะ-ท่าเทพพนม-ขึ้นไม้พรหม เป็นที่น่าสังเกตเนื้อหาสาระและภาพลีลาการชกต่อย

ส่วนใหญ่จะเป็นคำบรรยาย ภาพประกอบมีค่อนข้างน้อย เป็นภาพขาวดำที่จัดในสตูดิโอ ไม่บอกชื่อท่าของแม่ไม้ บอกแต่ท่าคละอันหมายถึง ลีลา หมัด ศอก เตะ และเข่า คละกันไปแต่กลับโฆษณา เล่ม ๒ ที่จะจัดพิมพ์ในโอกาสหน้าพรรณนาจะมีรูปประกอบท่าครูเด็ด ๆ ได้แก่ ท่าลูกไม้มวย เช่น หนูไต่ราว-หนุมานถวายแหวน-ฤๅษีมุดสระ-ลิงชิงลูกไม้และอื่นๆ